Skip Navigation Linksbot_history สหกรณ์ออมทรัพย์ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จำกัด

​​​​
  • ความเป็นมา

    • รายละเอียดประวัติและความเป็นมาของ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จำกัด   
    •             ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจ ก็ดุจเดียวกับความจำเป็นอื่นที่ผู้มีความประสงค์จะออกจากภาวะอันเดือดร้อน ไข่วคว้าหาจุดที่จะมาช่วยบำบัดตอบสนองความต้องการ ซึ่งสังคมภายในธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ไม่ต่างไปจาก สังคมอื่นที่มีผู้เดือดร้อนทางการเงินเกิดขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตาม ความที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันหลักของประเทศประการหนึ่ง พนักงานของธนาคารเองก็ได้รับการหล่อหลอมให้มีจิตสำนึกในการรักษาเกียรติภูมิ ให้ดำรงไว้ อย่างมั่นคงอีกประการหนึ่ง ดังนั้นแม้เมื่อเกิดความจำเป็นทางการเงินขึ้นมา การที่จะไปเสาะแสวงหานายทุนผู้ให้เงินกู้จาก ภายนอกก็ดูจะไม่เหมาะควร ดังนั้นในปี 2503 นายสงัด ภมรานนท์ ซึ่งเป็นครูมาก่อนจึงได้คิด ก่อตั้ง "กองทุน" ขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาความต้องการทางการเงินของเพื่อนพนักงาน และเพื่อเกื้อกูลมิให้พนักงานต้อง บากหน้าไปเสาะหาเงินกู้จาก บุคคลอื่นนอกธนาคาร ความที่นายสงัดเคยเป็นครูมาก่อน พนักงานธนาคารต่างก็เรียก คุณสงัดว่า "ครู" อยู่แล้ว ดังนั้นกองทุน ที่คุณสงัดตั้งขึ้นมาจึงเรียกว่า "กองทุนครูสงัด" อันเป็นชื่อติดปากพนักงานอยู่ นานแสนนาน


    •             การดำเนินการของกองทุนมีลักษณะใกล้กับหลักการของสหกรณ์ออมทรัพย์ กล่าวคือ มีการเรียกเก็บเงินค่า หุ้นจากสมาชิกเป็นรายเดือน สิ้นปีมีการปิดงบบัญชีแล้วจ่ายเงินปันผลแก่สมาชิก ตามจำนวนเงินค่าหุ้นที่ได้เรียกเก็บ แล้ว มีการรับฝากเงินในลักษณะประจำ นอกเหนือจากการออมโดยวิธีลงหุ้น โดยมีค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำ เม็ดเงินที่ระดมมาได้จากการเรียกเก็บค่าหุ้นและเงินฝากก็ให้บริการเป็นเงินกู้แก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ย ถูกกว่าท้องตลาดคือ ต่ำกว่าตลาดเงินนอกระบบมากราว 4 – 9 เท่าตัว และต่ำกว่าการกู้ยืมเงินสถาบันการเงินใน ระบบพอสมควร เงื่อนไขการให้กู้ยืมก็เป็นไปในลักษณะผ่อนคลาย มีความคล่องตัวในการใช้บริการมากรายได้ จากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับจากการใช้บริการของสมาชิกจำนวนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด ได้คืนกลับสู่สมาชิกในรูป เงินปันผลตามมูลค่าหุ้นเรียกเก็บได้ แต่ไม่มีเงินเฉลี่ยคืนแก่ผู้กู้ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ เงินเฉลี่ยคืนนับว่าเป็นจุดเด่น อันดับหนึ่งของระบบสหกรณ์ฯ
    •             การริเริ่มกองทุนของครูหงัดได้ผลดีและมีการตอบสนองจากเพื่อนพนักงานอย่างกว้างขวาง จนเกิดมีกองทุนอื่น ๆ เลียนแบบตั้งขึ้นมาหลายกองทุน ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์และเป็นกองทุนใหญ่โดยตั้งในฝ่ายออกบัตรธนาคาร คือ “กองทุนวังหลวง” ผู้เป็นประธานกลุ่มริเริ่มคือ นายศิระ ศิรสีหกุล กระนั้นก็ดีแม้จะมีคุณูปการแก่สมาชิก กองทุนเป็นอเนกประการ แต่กองทุนก็มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล การติดตามหนี้สินและการเรียกเงินกู้คืนจากผู้กู้ ในทางนิติการแล้วมิอาจกระทำได้ชัดเจน ที่สำคัญก็คือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารตระหนักว่า การจัดตั้งกองทุน อย่างที่ดำเนินการอยู่นั้นมีลักษณะการประกอบธุรกรรมคล้ายกับการจัดตั้ง "ทรัสต์" ที่มิได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏหมาย และโดยวิสัยแล้วพนักงานธนาคารไม่ควรทำเพราะเราเป็นแม่แบบแห่งการดำเนินการด้านธุรกรรมทางการเงินทั้งปวง จึงชอบที่จะกระทำการใด ๆ ให้อยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบที่ธนาคารเองเป็นผู้กำหนดไว้แม้ว่ากองทุนต่าง ๆ จะมีเจตนาดีในการที่จะบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินและสามารถทำได้ดีอย่างมีผลต่อเพื่อนพนักงานก็ตาม ​