Skip Navigation Linksbot_history2 สหกรณ์ออมทรัพย์ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จำกัด

ความเป็นมา


  •             ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงดำริให้มีแผนในการเลิกกองทุนอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อมิให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุน ต้องประสบความเดือดร้อนในเบื้องต้น ผู้บริหารระดับสูงต่างได้ศึกษา และคิดค้นหาแนวทางที่เหมาะสม ในการที่จะมา คลี่คลาย การประกอบการด้านกองทุนของพนักงานซึ่งวิธีการที่นำมาใช้จะต้องสามารถรองรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงานดุจเดียวกับกองทุน จะต้องสามารถถ่ายโอนลูกหนี้ของกองทุนได้จะต้องไม่ทำให้สมาชิกกองทุนสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้รับอีกทั้งจะต้องถูกต้องตามกฎหมายด้วย
  •             ในที่สุดจากการศึกษามารอบด้านแล้ว ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าทางออกที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การจัดตั้ง "สหกรณ์ออมทรัพย์" ขึ้นในธนาคารแห่งประเทศไทยโดยธนาคารได้มอบหมายในนายศิริ นันทรักษ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ให้เป็นผลสำเร็จโดยเมื่อได้รับฉันทานุมัติจากธนาคาร ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์แล้ว นายศิริ นันทรักษ์ ก็ได้สั่งการให้นายวรเทพ ไวทยาวิโรจน์ เป็นหัวหน้า "คณะทำงานริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ฯ" โดยมีบุคคลที่มาช่วยดำเนินการอย่างสำคัญมากคือ นายประจวบ พงศ์โสภิตศิลป์ และนายสมชาย สภาวสุ เป็นต้น กลุ่มริเริ่มนี้ได้ศึกษาเรื่องสหกรณ์ฯ โดยอาศัยแนวทางระเบียบ ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ของกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธนาคาร ผนวกกับเอกสารทางราชการและสหกรณ์ออมทรัพย์ อื่น ๆ เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงานซึ่งในระยะแรก ๆ นั้น ทำงานเพลินกันถึง 3 ทุ่ม เที่ยงคืนก็มีบ่อย ๆ โดยไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
  •             คณะทำงานได้เสนอโครงร่างและรูปแบบคำชี้ชวนเพื่อนพนักงานให้เป็นสมาชิกสหกรณ์ ฯ ตลอดจนทำแผน การรองรับลูกหนี้ที่จะถ่ายเทภาระหนี้สินมาจากกองทุนต่าง ๆ หลังจากได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงได้มีการชี้ชวน พนักงานทั้งที่เป็นสมาชิกกองทุนและมิได้เป็นสมาชิกกองทุนให้เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ ฯ กับทั้งได้นำเสนอผล ประโยชน์เกื้อกูลและเปรียบเทียบสิทธิ – ประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเด่นชัด เพื่อขจัดความวิตกของพนักงานที่มีหนี้สิน สองทางหลังจากที่ได้รับ “คำมั่น” จากเพื่อนพนักงานจำนวนหนึ่งถึง 580 คน ที่แจ้งความจำนงว่าจะเป็นสมาชิกจึงได้ จัดทำแผนแม่บทและแนวทางการจัดตั้ง สหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นในธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ธนาคาร
  • โดยสหกรณ์จะได้รับความอนุเคราะห์ 4 ประการคือ
                1. ในขั้นต้นให้ยืมตัวพนักงานมาช่วยงานสหกรณ์ฯได้
                2. ธนาคารอนุเคราะห์สถานที่
                3. ธนาคารอนุเคราะห์เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ เครื่องเขียนแบบพิมพ์ต่าง ๆ
                4. อนุญาตให้ประชุมหรือไปปฏิบัติงานสหกรณ์ฯได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  •             หลังจากนั้นในวันที่ 8 กันยายน 2520 ธนาคารจึงได้ประกาศให้ทราบนโยบายของธนาคารว่าขอให้พนักงาน เลิกฐานะกองทุนทุกกองภายในปี 2521 โดยธนาคารได้มีสถาบันสหกรณ์ออมทรัพย์ตั้งขึ้นมารองรับแทน ซึ่งในระยะแรกพนักงานที่ยังไม่เข้าใจเจตนาของธนาคารก็ได้แสดงความไม่เห็นด้วยนานาประการ แต่คณะทำงานก็พยายามชี้แจงและแก้ไขความไม่เข้าใจเหล่านั้นด้วยดี ในอีกด้านหนึ่งการติดต่อประสานงานกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นทางการก็ดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยทางราชการได้ส่งนายสำราญ เรืองวิชา มาเป็น ผู้ให้คำแนะนำจัดตั้งสหกรณ์ ​
​​